THAILAND CYBERSECURITY EXCELLENCE AWARDS 2022

ภาพถ่ายบรรยากาศงานวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพ

ประวัติความเป็นมางานมอบรางวัล

สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการยกระดับความสามารถของหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ (CII) หน่วยงานเอกชน รวมไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ สกมช. จึงได้ดําเนินการจัดกิจกรรม Prime Minister Awards: Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2022 เพื่อส่งเสริมการดําเนินงานและกํากับดูแลตลอดจนสร้างความตระหนักและการรับรู้ถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้สอดคล้องกับกับแนวทางของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
  • เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากหน่วยงานต่าง ๆ สําหรับตอบคําถามที่เกี่ยวข้องกับดัชนี GCI
  • เพื่อกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ พัฒนายุทธศาสตร์ และการดําเนินการด่านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
  • เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศด่านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ประเภทรางวัล

โดยการพิจารณารางวัลของคณะกรรมการประเมินรางวัลฯ ในครั้งนี้ ได้พิจารณาให้รางวัลตามประเภท และสาขา ต่างๆ เป็นดังต่อไปนี้

ประเภทประกาศนียบัตร

  1. ใบประกาศนียบัตรเข้าร่วมโครงการ Prime Minister Awards: Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2022 (Certificate of Participation)
  2. ใบประกาศเกียรติคุณสําหรับหน่วยงานที่มีการดําเนินการด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์เป็นเลิศ (Certificate of Cyber Safety)

ประเภทโล่รางวัลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดีเด่น

แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. รางวัลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภาพรวมดีเด่นสําหรับ หน่วยงานที่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรฐานสากลดีเด่น แห่งชาติ (Cybersecurity Performance Excellence Awards)
  2. รางวัลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดีเด่น และรางวัลชมเชยในสาขา ต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ดังนี้
    • สาขาการเงินการธนาคาร Cybersecurity Excellence Awards (Banking)
    • สาขาความมั่นคงของรัฐ Cybersecurity Excellence Awards (National Security)
    • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม Cybersecurity Excellence Awards (Information Technology and Telecommunications)
    • สาขาบริการภาครัฐที่สําคัญ Cybersecurity Excellence Awards (Public Services)
    • สาขาการขนส่งและโลจิสติกส์ Cybersecurity Excellence Awards (Transportation and Logistics)
    • สาขาพลังงานและสาธารณูปโภค Cybersecurity Excellence Awards (Energy and Utilities)
  3. รางวัลสําหรับหน่วยงานที่มีการดําเนินการด่านต่าง ๆ ดีเด่น ได้แก่
    • สาขาความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่น Cybersecurity Excellence Awards (Corporate Social Responsibility)
    • สาขาการพัฒนาศักยภาพบุคลากรดีเด่น Cybersecurity Excellence Awards (Capacity Development)
    • สาขาการสนับสนุนการดําเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอรของประเทศดีเด่น Cybersecurity Excellence Awards (Supporting)

เกณฑ์การประเมินรางวัล

คณะกรรมการประเมินรางวัลฯ ได้พิจารณาเกณฑ์การประเมินมอบรางวัลฯ ประกอบไปด้วยการประเมินใน   3 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
  2. ด้านความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือที่ครอบคลุมทั้งระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ ระดับประเทศ แ ละระดับภูมิภาค
  3. ด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์

โดยในการประเมินเกณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะเป็นการอ้างอิง จากพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และ ประกาศ คณะกรรมการกํากับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เรื่องประมวลแนวทางปฏิบัติ และกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สําหรับหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ พ.ศ. 2564 และในเกณฑ์ ประเมินด้านความร่วมมือและด้านการพัฒนาศักยภาพ เป็นการอ้างอิงจากดัชนี ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก (The Global Cybersecurity Index: GCI) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ในหัวข้อการพัฒนาศักยภาพ (Capacity Development) และหัวข้อความร่วมมือ (Cooperative)

แนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินรางวัลฯ ขั้นต้นจะเป็น การพิจารณาจากข้อคําถามในแต่ละข้อในแบบประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นการพิจารณาความถูกต้องและเกี่ยวข้องระหว่างหลักฐานในแต่ละ หน่วยงานและข้อคําถามในแต่ละข้อ ซึ่งนําไปสู่ขั้นถัดไปเป็นการพิจารณาถึงหลักฐาน โดยละเอียดโดยมุ่งเน้นที่คุณภาพของหลักฐานในข้อต่าง ๆ ที่มีการเปรียบเทียบระหว่าง หน่วยงาน และเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล เช่น ISO 27001 เป็นต้น